ข้อมูลทั่วไป

การนิคมแห่งประเทศไทย

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 339 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 และตราเป็นพระราชบัญญัติ กนอ. พ.ศ. 2522 ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539 และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 เพื่อขยายขอบเขตของการพัฒนาพื้นที่จากภาคอุตสาหกรรมสู่ภาคบริการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาและจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมโดยจัดพื้นที่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมให้เข้าไปอยู่รวมกันอย่างมีระบบและมีระเบียบ และเป็นกลไกของรัฐบาลในการกระจายการพัฒนาอุตสาหกรรมออกสู่ภูมิภาคทั่วประเทศโดยมี “นิคมอุตสาหกรรม” เป็นเครื่องมือดำเนินการ

นิคมอุตสาหกรรม

หมายถึงเขตพื้นที่ดินซึ่งจัดสรรไว้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเข้าไปอยู่รวมกันอย่างเป็นสัดส่วน อันประกอบด้วย พื้นที่อุตสาหกรรม สิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภค และสาธารณูปการครบครัน เช่น ถนน ท่อระบายน้ำ โรงกำจัดน้ำเสียส่วนกลาง ระบบป้องกันน้ำท่วม ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ นอกจากนั้น ยังประกอบด้วย บริการอื่นๆ ที่จำเป็นอีก อาทิ เช่น ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ธนาคาร ศูนย์การค้า ที่พักอาศัย สำหรับคนงาน สถานีบริการน้ำมัน เป็นต้น

ภาระหน้าที่ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  1. จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมส่งเสริมและสนับสนุนเอกชนหรือองค์กรของรัฐจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม
  2. จัดให้มีและให้บริการในระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ซึ่งจำเป็นแก่การประกอบอุตสาหกรรม
  3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชนลงทุนและให้บริการในระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการซึ่งจำเป็นแก่การประกอบอุตสาหกรรม
  4. จัดให้มีระบบและการจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกันและบรรเทาอุบัติภัยจากอุตสาหกรรม
  5. อนุญาต อนุมัติการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมและจัดให้ได้เพิ่มเติมซึ่งสิทธิประโยชน์ สิ่งจูงใจ และการอำนวยความสะดวกแก่การประกอบอุตสาหกรรม
บทบาทของนิคมอุตสาหกรรม
  1. ซึ่งพร้อมด้วยปัจจัยการผลิตซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
  2. เป็นกลไกของรัฐในการกระจายอุตสาหกรรมและความเจริญไปสู่ภูมิภาค
  3. เป็นกลไกของรัฐในการรักษาและส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการอุตสาหกรรม
  4. เป็นกลไกของรัฐในการป้องกันและบรรเทาอุบัติภัยอันเกิดจากอุตสาหกรรม
  5. เป็นกลไกของรัฐในการจัดระบบและระเบียบการใช้ที่ดินในพื้นที่เฉพาะและเป็นส่วนหนึ่งของการวางผังเมืองตลอดจนการใช้ที่ดิน
  6. เป็นกลไกของรัฐในการส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรมทั่วไปอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกและรวมถึงอุตสาหกรรมพื้นฐาน
การบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร

กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.

การพัฒนาการ

ปัจจุบัน กนอ. มีนิคมอุตสาหกรรมที่เปิดดำเนินการแล้ว 55 นิคมฯ กระจายอยู่ใน 16 จังหวัด ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ.ดำเนินการเอง จำนวน 13 นิคม และนิคมอุตสาหกรรมที่ร่วมดำเนินงานกับผู้พัฒนา จำนวน 42 นิคมอุตสาหกรรม

นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง

ตั้งอยู่ เลขที่ 40 ซอยฉลองกรุง 31 แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

ปรัชญา

I : Integrity ยึดมั่นในเกียรติยศและศักดิ์ศรี – ซื่อสัตย์ต่อตนเอง ลูกค้า และองค์กร

EA : Excellence-Achievement มุ่งสู่ความสำเร็จที่เป็นเลิศ มีความเป็นมืออาชีพ บริการที่เป็นเลิศ โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน

T : Tributary ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยรวมมีความแบ่งปันเกื้อกูล และเอื้ออาทรในการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนกับชุมชน สังคมและ สิ่งแวดล้อม

วิสัยทัศน์

“เป็นองค์กรหลักที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยเน้นภาคอุตสาหกรรมและบริการสู่อนาคตที่ยั่งยืน”

โดยวิสัยทัศน์ของ กนอ. มีสิ่งที่ต้องขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นในอนาคตประกอบด้วย 2 ประการ ได้แก่

1) การยกระดับนิคมอุตสาหกรรมเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ที่มีสมดุลในการพัฒนาบนพื้นฐานการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อหนุนซึ่งกันและกันของภาคอุตสาหกรรม บริการ และสังคมชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการกำกับดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมให้อยู่ในมาตรฐาน ลดผลกระทบที่เกิดแก่สังคมชุมชน รวมถึงสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ชุมชน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับของสังคมและชุมชน

2) การพัฒนาสินค้าบริการและองค์กรรองรับอุตสาหกรรมที่ตอบสนองเศรษฐกิจอนาคตของประเทศ ที่สร้างมูลค่าเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม (Value-Based Economy) ตามแนวทาง Thailand 4.0 เพื่อผลักดันให้ประเทศหลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง โดยมุ่งเน้นการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่ตอบสนองเศรษฐกิจในอนาคตของประเทศ ยกระดับการให้บริการด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรรองรับการเปลี่ยนแปลง โดยอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมและความโปร่งใสขององค์กรตามแนวทางธรรมาภิบาล

พันธกิจ

กนอ. กำหนดพันธกิจที่ต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ และสนองตอบต่อผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงานของ กนอ. ดังนี้

ต่อประเทศ : เป็นผู้นำพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศรองรับอุตสาหกรรมศักยภาพในอนาคตและเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน

ต่อสังคม ชุมชน : สร้างความเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรม สังคม ชุมชน อย่างมีส่วนร่วม

ต่อผู้ประกอบการ : ยกระดับการให้บริการเพื่อเอื้อต่อการลงทุนและการประกอบกิจการให้สามารถแข่งขันได้

ต่อผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรม : สร้างกลไกที่เอื้อต่อการพัฒนาและบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

ต่อองค์กร : พัฒนาองค์กรให้มีความยั่งยืนและมีธรรมาภิบาล

ต่อบุคลากร : พัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมพร้อมทั้ง พัฒนาระบบการบริหารบุคลากรที่มีคุณภาพ เพื่อสร้างแรงจูงใจและความผูกพันของบุคลากรที่มีต่อองค์กร

มีพื้นที่ทั้งหมด 2,559 ไร่

  • เขตอุตสาหกรรมทั่วไป 1,228 ไร่
  • เขตประกอบการเสรี 683 ไร่
  • สาธารณูปโภค เขตพาณิชยกรรม 648 ไร่
  • จำนวนผู้ประกอบการในนิคมฯลาดกระบัง

จำนวนผู้ประกอบการใช้ที่ดิน ทั้งหมด 239 ราย

  • จำนวนผู้ประกอบการใช้ที่ดินที่เข้าข่าย 149 ราย ตาม พ.ร.บ.โรงงานฯ
  • จำนวนผู้ประกอบการใช้ที่ดินที่ไม่เข้าข่าย 90 ราย ตาม พ.ร.บ.โรงงานฯ

พ.ศ. 2535
(คลังสินค้า, ซื้อมาขายไป)

พ.ศ. 2519
กนอ. จัดตั้ง “นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง”
จัดซื้อที่ดินประมาณ 1,006 ไร่ บริเวณ แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานคร

พ.ศ. 2522
ซื้อที่ดินเพิ่มอีกประมาณ 284 ไร่ เพื่อขยายนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
ส่วนขยายที่ 2

พ.ศ. 2532
กนอ. ร่วมดำเนินงานกับ บจก. อินเตอร์เนชั่นแนล รีซอร์ท ดีเวลลอปเม้นท์ จัดซื้อที่ดินเพิ่ม และลงทุนในระบบสาธารณูปโภค
ส่วนขยายที่ 3
พื้นที่ประมาณ 1,257 ไร่
แล้วเสร็จเมื่อ เมษายน 2533

พ.ศ. 2549
บจก. ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง ผนวกพื้นที่เข้ากับนิคมอุตสาหกรรลาดกระบัง ส่วนขยายที่ 3 จำนวน 12 ไร่

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
Banner Border